เป็นการกระตุกต่อมให้สังคมกลับมาตื่นตัว ถึงโครงสร้างการค้าที่บิดเบี้ยวของเมืองไทยว่า ยังมีช่องโหว่ในหลายด้านที่บั่นทอนผู้ผลิตคนไทย จนทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับชาติอื่นในโลกได้

โครงสร้างภาษีบิดเบี้ยวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ปัญหาที่บิดเบี้ยวนี้ ส่วนหนึ่งต้องยอมรับความจริงว่า ไทยไปแข่งขันด้วยได้ยาก เพราะจีนถือเป็นโรงงานผลิตใหญ่ที่สุดของโลก จนมีคำกล่าวว่า “พระเจ้าสร้างโลก แต่ที่เหลือจีนเป็นคนสร้างทั้งหมด” และไม่ใช่แค่ไทยเพียงชาติเดียวที่ขาดดุลการค้า กลุ่มชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา อียู หรือยุโรป ล้วนขาดดุลการค้ากับจีนแทบทั้งสิ้น เนื่องจากจีนมีกำลังการผลิตสินค้าจำนวนมาก ทำให้กดต้นทุนลงได้ถูกกว่าเมื่อเทียบกับเมืองไทย

จุดนี้…ว่ากันไม่ได้!! เพราะในโลกการค้าเสรี ผู้บริโภคย่อมมีสิทธิเลือกหาซื้อสินค้าที่ราคาถูก และตรงความต้องการตัวเองมากกว่า แต่จุดที่เป็นปัญหา คือ สินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศส่วนใหญ่โดยเฉพาะจากจีน กลับได้สิทธิพิเศษมากกว่าสินค้าที่ผลิตในไทย ยกตัวอย่างที่กำลังเป็นประเด็นใหญ่ในเวลานี้ คือ สินค้าที่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ถ้ามีราคาไม่ถึง 1,500 บาท ก็ได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และอากรขาเข้าจากไทย ทำให้ได้เปรียบกว่าสินค้าที่ผลิตโดยคนไทยกลับต้องโดนเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม

รื้อเก็บแวตสินค้านำเข้า

ส่งผลให้ทุกวันนี้คนไทยจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะสั่งซื้อสินค้าเองโดยตรงจากจีน ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งในประเทศ หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ระดับอินเตอร์ทั่วโลก เพราะนอกจากราคาโดยรวม ค่าส่งไม่แพง ราคาสินค้าถูกกว่ามากแล้ว ยังได้ยกเว้นภาษีอีก ส่งผลให้เกิดการไหลทะลักของสินค้าจากนอกประเทศ เข้ามาบุกถล่มตลาดไทยมาอย่างต่อเนื่อง จนผู้ผลิตเอง หรือคนทำมาค้าขาย ที่เคยสั่งซื้อสินค้าจากจีนมาขายต่ออยู่ไม่ได้ ต้องล้มหายตายจากไปจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม เรื่องช่องโหว่ของการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรขาเข้าให้กับสินค้าราคาไม่เกิน 1,500 บาท ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่จริงเคยถูกขับเคลื่อนจากกรมศุลกากรมาตั้งแต่ 3 ปีก่อนแล้ว ได้พยายามจะแยกให้มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าทุกชิ้น แต่อยู่ ๆ เรื่องก็หายเงียบไป จนล่าสุดมีข่าวเป็นกระแสมากขึ้น กระทรวงการคลัง โดยนายกรัฐมนตรี ที่นั่งควบในตำแหน่งขุนคลังด้วย ก็มีคำสั่งให้รื้อเรื่องนี้ออกมาทำใหม่โดยเร็ว เพราะปล่อยไว้ยิ่งสร้างความไม่เป็นธรรมให้แก่คนไทยมากขึ้นเท่านั้น

อากรขาเข้าแตะไม่ได้

จนเป็นที่มาเมื่อวันที่ 15 ก.พ.67 ปลัดกระทรวงการคลัง จึงได้เรียกประชุมเรื่องนี้กับกรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เพื่อหาทางออก!! จนได้ข้อสรุปว่าไทยจะมีการสั่งเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% สำหรับสินค้าที่สั่งซื้อนำเข้าจากต่างประเทศทุกชิ้น โดยไม่มีข้อยกเว้นภาษีสินค้าที่ไม่เกิน 1,500 บาท เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกับผู้ทำมาค้าขายในประเทศ

ส่วนการทบทวนอากรขาเข้า หรือภาษีศุลกากร กระทรวงการคลังคงไม่เข้าไปแตะ เนื่องจากการยกเว้นเก็บอากรขาเข้าให้กับสินค้าที่มีมูลค่าไม่แพง ถือเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่องค์กรศุลกากรโลกกำหนดไว้อยู่แล้ว และทั่วโลกได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกการค้าระหว่างกัน ซึ่งหากไทยไปเก็บภาษีนำเข้าจากจีน หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง อาจถูกจีนตอบโต้เก็บภาษีนำเข้าจากไทยคืนได้บ้าง จนอาจกลายเป็นได้ไม่คุ้มกับเสียก็เป็นไปได้

แพลตฟอร์มนำส่งภาษี

ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ การสั่งซื้อนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศไม่ว่าจะซื้อจากที่ใดในโลก คนซื้อจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่วิธีการจัดเก็บจะเป็นอย่างไรก็ต้องรอดูอีกครั้ง แต่มีความเป็นไปได้ว่า อาจให้เจ้าของแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นคนเก็บ แล้วส่งมาให้รัฐบาล แต่สิ่งที่หลายคนตั้งคำถามด้วยก็คือ แล้วแพลตฟอร์มสินค้าในประเทศรายเล็กๆ ที่ยังไม่เคยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ จะถูกเก็บด้วยหรือไม่ ซึ่งอาจต้องยอมรับเสียงก่นด่า เพื่อต้องนำไปแลกกับความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในระบบภาษีทั้งระบบ

อย่างไรขั้นตอนต่อจากนี้ จึงเหลือเพียงขั้นตอนการแก้กฎหมายในส่วนประมวลรัษฎากร ที่เคยเขียนผูกไว้กับกฎหมายศุลกากร ที่ระบุว่า ให้ยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้านำเข้าที่กรมศุลกากรยกเว้นอากรให้ รวมถึงการกำหนดวิธีการจัดเก็บสินค้า ตลอดการดูอัตราการยกเว้นอากรนำเข้าว่าจะมีการทบทวนใหม่ให้ตัวเลขลดลงจาก 1,500 บาทหรือไม่ ตลอดจนการหาวิธีล้อมคอกแก้ปัญหาทุจริตต่าง ๆ เช่น การสำแดงสินค้าราคาต่ำเกินจริง อย่างของราคา 10,000 บาท แต่สำแดงต่ำกว่า 1,500 บาท เพื่อเลี่ยงภาษี รวมถึงการใช้ฟรีเทรดโซน มาเป็นช่องโหว่ในการพักสินค้าเพื่อกระจายส่งมาขายตีตลาดในไทย เป็นต้น

สินค้านำเข้าไร้มาตรฐาน

นอกจากความบิดเบี้ยวทางเรื่องภาษีแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่ไม่ค่อยพูดถึงนักคือ เรื่องมาตรฐานสินค้า อย่างที่เราทราบ ๆ กันอยู่สินค้าจีนที่มีราคาถูก ก็มักจะเป็นสินค้าที่ไม่มีมาตรฐาน เรียกว่าได้ราคาสินค้าตามคุณภาพ ซึ่งที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าประเทศไทย เป็นแหล่งมีสินค้าราคาถูกจากจีนเข้ามาตีตลาดวางขายจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ส่งผลให้สินค้าจากจีนทะลักเข้ามาขายในไทยได้ตามอัธยาศัย

ยกตัวอย่าง สินค้าตามตลาดนัด หรือร้าน 20 บาท ที่มีสินค้าราคาถูกจากจีนมาขายกันแทบทุกมุมเมือง ที่สำคัญสินค้าหลายรายการยังเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตจากสินค้ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ด้วย แต่กลับปล่อยวางขายได้ตามปกติ โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง ยางรถยนต์ ของเล่น หมวกกันน็อก เป็นต้น ซึ่งตามหลักผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าเหล่านี้ จะต้องขออนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ก่อน เพื่อรับรองคุณภาพสินค้าว่าเป็นไปตามมาตรฐานก่อนจะนำออกขาย เพื่อสร้างความปลอดภัยของผู้บริโภค

จี้ มอก.ขยายวงควบคุม

สอดคล้องกับความเห็นของ นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ ที่มองว่า อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการมองเรื่องคุณภาพด้วย ซึ่งยอมรับว่า สินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศแล้วนำมาขายในออนไลน์ส่วนใหญ่ไม่มีมาตรฐาน เพราะการนำเข้ามากันเป็นหีบห่อ ไม่สามารถเปิดดูสินค้าได้ จึงมีปัญหาสำหรับผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าไปแล้วไม่ได้มาตรฐาน ที่สำคัญสินค้าหลายชนิดที่เข้ามาควรกำหนดประเภทของสินค้าให้มีมาตรฐาน มอก. ดังนั้นจึงควรทบทวน เพิ่มเติมประเภทสินค้าใหม่เพื่อปกป้องผู้บริโภค และป้องกันไม่ให้สินค้าจากจีนไหลทะลักเข้ามาทำลายอุตสาหกรรมในไทย

ขณะที่เรื่องปัญหาขาดดุลการค้า คงไม่ใช่โจทย์ใหญ่อะไรทั้งหมด เพราะหากสินค้าที่นำเข้ามาเป็นของที่คนไทยผลิตเองไม่ได้ หรือเป็นสินค้าที่นำเข้ามาแล้ว ช่วยต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องนำเข้า และยิ่งวันนี้การที่ไทย-จีน มีสถานะเป็นชาติมหามิตร ที่เพิ่งจูบปากเปิดวีซ่าฟรีระหว่างกันไปไม่ถึงเดือน การที่รัฐบาลจะไปออกมาตรการอะไรที่รุนแรงเพื่อสกัดสินค้าจีนโดยตรงคงจะดูไม่งาม

ดังนั้น…การแก้ปัญหาโครงสร้างการค้าที่บิดเบี้ยวของไทย จนเปิดโอกาสให้สินค้าราคาถูก ไร้มาตรฐานจากต่างประเทศ เข้ามาตีตลาด จึงเป็นวาระใหญ่!! ที่รัฐบาลต้องทำควบคู่กันในหลายมิติ โดยเน้นสร้างความเป็นธรรมทั้งระบบ!! ทุกประเทศ…มากกว่าการที่จะไป “ตีวงต่อต้าน” สินค้าจากประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่เช่นนั้น…อาจได้ไม่คุ้มเสีย!!.

นายกฯชี้ 3 ปัญหาหลัก
เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีและรวม.คลัง ได้โพสท์ผ่าน X โดยระบุว่า พบปัญหา 3 เรื่อง จากกรณีสินค้าจีนตีตลาดไทย จนสร้างความกังวลต่อผู้ผลิตไทยที่ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ คือ 1. มีการสำแดงเท็จ ผ่านฟรีเทรดโซนให้ต่ำกว่า 1,500 บาท เพื่อตั้งใจเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. มีสินค้าราคาถูกโดยเฉพาะจากประเทศจีนทุ่มตลาดในไทยจากสินค้าออนไลน์และการเข้ามาใช้ประโยชน์จากฟรีเทรดโซน ที่กำหนดไว้เพื่อประโยชน์ทางอากรศุลกากรในภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ และ 3. ลักลอบนำสินค้าผ่านด่านศุลกากรโดยการสำแดงข้อมูลเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี

อย่างไรก็ตาม นับว่าส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ผู้ผลิต และผู้ค้ารายย่อยไทย ได้รับผลกระทบจากการไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ เนื่องจากสินค้านำเข้าส่วนใหญ่ราคาถูกกว่าเพราะได้รับการยกเว้นภาษี ทั้งยังเป็นสินค้าคุณภาพต่ำขาดการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภาครัฐ และยังมีปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอีกด้วย ซึ่งตนเองได้รับเอกสารข้อเสนอจากภาคเอกชน เกี่ยวกับแนวทางการรับมือในเรื่องนี้แล้ว และได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงการคลัง อธิบดีกรมสรรพากร และอธิบดีกรมศุลกากร เร่งหาทางออก ซึ่งอย่างน้อยที่สุดสิ่งที่ควรจะทำได้ คือ การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการในประเทศเสียเปรียบ สำหรับประเด็นอื่น ๆ จะหารือในรายละเอียดเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาให้สำเร็จต่อไป.

เก็บภาษีตั้งแต่บาทแรกคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สมชายพรรัตนเจริญ” ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย มองว่า ขณะนี้สินค้าราคาถูกจากประเทศจีน ได้ส่งผลกระทบกับบรรดาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่เป็นระดับสตาร์ทอัพของไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากขาดการดูแลเอาใจใส่จากภาครัฐอย่างจริงจัง โดยที่ผ่านมาได้ปล่อยปละละเลย เพิกเฉย ไม่ได้ควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด จนทำให้ทุกวันนี้สินค้าจีนเข้ามาทำตลาดได้ง่าย ๆ ส่งผลให้รายได้คนไทยระยะหลังไม่ดี ปิดตัวธุรกิจ และตายเกือบหมด

อย่างไรก็ตามในเวลานี้หากภาครัฐจะเพิ่งตื่นตัวหรือเพิ่งออกนโยบายให้สกัดกั้นสินค้าจีนหรือทำการล้อมคอกคงไม่ทันสถานการณ์แล้ว สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือกวาดล้างให้หมด อีกทั้งการยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าที่มีการสั่งซื้อและส่งเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% และอากรขาเข้า สำหรับสินค้าที่มีหีบห่อ ราคารวมค่าขนส่งและค่าประกันภัยที่มีราคาไม่เกิน 1,500 บาทนั้น ควรปรับเกณฑ์แล้วหันมาเก็บภาษีตั้งแต่บาทแรกเพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษี ขณะเดียวกันรัฐบาลต้องดูแลขยันตรวจตราสินค้าหรือธุรกิจจากจีนที่เข้ามาหาผลประโยชน์ แทนที่จะมาเข้มงวดกับผู้ประกอบการไทยโดยจัดเก็บภาษีทุกอย่างตั้งแต่ ภาษีที่ดิน ภาษีป้าย แต่ต่างชาติไม่เก็บตั้งแต่บาทแรก เพื่อช่วยปกป้องอาชีพคนไทยและผู้บริโภคได้สินค้าในราคาสมเหตุสมผล เนื่องจากสินค้าที่ถูกและดีไม่มีในโลก.

หวั่นกระทบเอสเอ็มอี
สนั่น อังอุบลกุล” ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน หรือกกร.มีความเป็นห่วงและกังวลกับปัญหาสินค้าจีนราคาถูกที่เข้ามาทุ่มตลาดในไทยและในตลาดอาเซียน เพราะจะเป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเพิ่มเติมขึ้นไปอีก โดยต้องยอมรับว่า ประเทศจีนเป็นโรงงานของโลกมีความพร้อมทั้งวัตถุดิบ ซัพพลายเชน ในการผลิตสินค้า ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ส่งให้ราคาสินค้าถูก ประกอบกับการค้าขายในสมัยใหม่ใช้อีคอมเมิร์ซในการซื้อขายสินค้ามากขึ้น ก็ยิ่งทำให้สินค้าที่มีราคาถูกกว่าสินค้าไทยเข้ามาขายในประเทศไทยมากขึ้น ทำให้สินค้าจีนมีแต้มต่อทำให้สินค้าไทยต่อสู้ได้ยาก

นอกจากนี้สินค้าบางอย่างโดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลเพราะสินค้าหลายตัวไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม (สมอ.) แต่มีราคาถูก บางตัวก็ย้อมแมวมาขาย ซึ่งไม่ปลอดภัยกับผู้บริโภค ซึ่งเจ้าหน้าที่เองก็มีกำลังไม่เพียงพอที่จะไปเข้มงวดกวดขัน ขณะเดียวกันหากเข้มงวดเกินไปก็จะมีการร้องเรียนว่ากลั่นแกล้ง ดังนั้นจำเป็นที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำงานร่วมกัน และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย.

จี้รัฐออกกฎหมายสกัด
ญนน์ โภคทรัพย์” นายกสมาคมผู้ค้าปลีกไทย บอกว่า ช่วงทศวรรษที่ผ่านมาธุรกิจค้าปลีกไทยเติบโตมากกว่า 1-2 เท่าของจีดีพีประเทศ และหลังจากนั้นการเติบโตของค้าปลีกจะต่ำกว่าจีดีพี โดยปี 66 เติบโตเพียง 1.6-1.7% โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 4.4 ล้านล้านบาท ส่วนปีนี้คาดว่าธุรกิจค้าปลีกไทยจะเติบโตในอัตราที่ใกล้เคียงกับจีดีพีของประเทศ แต่ด้วยอุปสรรคหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะปัญหาสินค้าจีน และสินค้าจีนที่ขายอยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์มีมูลค่า 2 ใน 3 ของมูลค่ารวมในแพลตฟอร์มดังกล่าว ประกอบกับความเหลื่อมล้ำของระบบภาษีสินค้าจีนกับสินค้าไทย ทำให้สินค้าไทยขาดความสามารถในการแข่งขันกับสินค้าจีน ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจค้าปลีกของไทยกลับมาโตต่ำกว่าจีดีพีในปีนี้ สมาคมฯจึงอยากเสนอให้รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมสินค้าจีนเพื่อทำให้ค้าปลีก ค้าส่ง และเอสเอ็มอีไทยแข่งขันด้านต้นทุนได้มากขึ้น

สินค้าจีนได้เปรียบด้านภาษีซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่เติบโต ฉะนั้นกฎหมายของไทยควรปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ไม่สร้างความเหลื่อมล้ำด้านภาษี รวมถึงภาครัฐต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้แบรนด์ของคนไทยมีความสามารถแข่งขันได้โดยทิศทางในปีนี้ค้าปลีกมีโอกาสที่จะขยายต่ำกว่าจีดีพีที่ประเมินกันไว้ในระดับ 2-3% หากภาครัฐบาลยังไม่มีหนทางแก้ปัญหาสินค้าจีนราคาถูกเข้ามาตีตลาด เพราะสินค้าเหล่านี้ไม่มีมาตรการทางภาษีมาดูแล จึงเป็นช่องว่างทำให้เข้ามาทำตลาดในไทยได้ง่าย”.

ทีมเศรษฐกิจ

By admin